เรื่องค่าเงินบาทเป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่ต้องดูทั้งด้านที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
เงินบาทแข็งค่าคือ มูลค่าของเงินในปัจจุบันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินอีกสกุลเงินหนึ่งในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ และเมื่อเงินบาทแข็งค่า จะทำให้เงินบาทจำนวนเงินเท่าเดิม สามารถแลกเงินอีกสกุลได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันจะทำให้เงินบาทจำนวนน้อยลง เมื่อซื้อเงินสกุลต่างประเทศในจำนวนเท่าเดิม นอกจากผลกระทบจากการและเงินในสกุลต่างประเทศนั้นๆ แล้ว เงินบาทแข็งค่า ยังสามารถส่งผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่ดี
ผลกระทบกับราคาสินค้าที่เราต้องจ่าย
เป็นเรื่องที่ธรรมดาและเรารู้จักกันเป็นอย่างดีว่า อัตราและเปลี่ยนเงินของต่างประเทศมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาสินค้านำเข้า หากค่าเงินในประเทศผู้นำเข้าสินค้า แข็งค่า ราคาสินค้านำเข้าจะปรับลดน้อยลง หมายถึงว่า หากซื้อสินค้าดังกล่าวก็จะได้ราคาที่ถูกลง ตรงกันข้ามหากค่าเงินในประเทศผู้นำเข้าสินค้า อ่อนค่า ราคาสินค้าผู้นำเข้าที่ผู้ซื้อต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นนั่นเอง
การทบกับอัตราเงินเฟ้อ
ประเทศที่อยู่ในภาวะค่าเงินอ่อนค่า และเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศจำนวนมากๆ อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น หากเกิดเหตุการณ์นี้อาจจะทำให้ธนาคารกลางตัดสินใจปรับขึ้นราคาดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรับภาวะอัตราเงินเฟ้อและป้องกันไม่ให้ค่าอ่อนค่าไปมากกว่านี้ ในทางกลับกัน ถ้าค่าเงิน แข็งค่า เราสามารถกดดันอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ต่ำลงและส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญค่าเงินแข็งตัวมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างรวดเร็วอาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเงินหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเครื่องมือที่จะช่วยลดแรงกดดันคือ การใช้นโยบายการเงินให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว และให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มสูงขึ้น
กระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้
ค่าเงินแข็งค่า อย่างรวดเร็วและเป็นระยะเวลายาวนาน อาจทำให้ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินลดลงตาม สถาบันการเงินจึงสามารถลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจกู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนสูงขึ้นจากต้นทุนที่กู้ยืมลดต่ำลง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง จะช่วยลดแรงจูงใจให้ออมเงินที่นำมาฝากเอาไว้ อาจนำไปลงทุนในช่องทางอื่นๆ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น หรือนำไปใช้สอยแทน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้คึกคักมากขึ้น
กระทบกับพอร์ตลงทุน
บริษัทมีฐานรายได้ในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์และยังมีบริษัทย่อยในต่างประเทศอีก เมื่อเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าต่อไปอีก อาจจะมีผลต่อยอดขายและกำไรที่ได้รับเข้ามา เพราะเมื่อแลกเป็นเงินบาทจะได้รับน้อยลง เช่น ต้นปี 1 ดอลลาร์ แลกได้เพียง 35 บาท วันนี้ แลกเหลือ 33 บาท ดังนั้น หากนักลงทุนมีหุ้นอยู่ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ในพอร์ตตัวเอง อาจจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยง จากปัจจัยการแข็งค่าของเงินมาก ถ้าประเมินแล้วจะส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น อาจจะพิจารณาการปรับพอร์ตหุ้นลงทุนเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์
กระทบต่อผู้ประกอบการ
หากเงินแข็งค่าขึ้น ธุรกิจที่จะต้องนำเข้าวัตถุดิบหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจากต่างประเทศ จะซื้อวัตถุดิบหรือเครื่องจักรได้ถูกลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนั้นต่ำลง กลับกันคือถ้าผู้ส่งออกจะได้รับผลเสียจากการได้รับรายได้และผลกำไรจากการส่งออกลดลง และเมื่อมีรายได้ลดลงอาจจะนำไปสู่การตัดสินใจการลดกำลังการผลิต และอาจจะกระทบไปถึงการลดการจ้างงานลงด้วย
“ค่าเงินบาทแข็งค่า จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และต่อบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามอย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจไป เพราะอย่างไรรัฐบาลก็ต้องมีมาตรการที่จะควบคุมให้ค่าเงินนั้นสมดุล แต่ตัวเราเองก็อย่าประมาทไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็ตาม ก็ควรที่จะใช้เงินอย่างคิดหน้าคิดหลังด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าค่าเงินหรือเศรษฐกิจในประเทศในภายภาคหน้าจะเดินไปในทิศทางใด”