ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย

 

วันนี้เราจะพามาดูเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยของเรากัน ซึ่งในหลายๆ เหตุการณ์นั้นอาจจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือผู้เสียชีวิตมากมาย รวมทั้งความเสียหายหลายอย่างที่ตามมา โดยแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นผู้เขียนได้ทำการคำนวณจำนวนผู้เสียชีวิตที่เราได้สูญเสียไปอย่างคร่าวๆ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 

– พายุไต้ฝุ่นเว้ เกิดขึ้น ณ วันที่ 15-30 ตุลาคม พ.ศ.2495 ที่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสมุทรปราการ ไม่พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น

– พายุโซนร้อนแฮเวียต เกิดขึ้น ณ วันที่ 22-30 ตุลาคม พ.ศ.2505 โดยเกิดถึง 14 จังหวัดด้วยกัน พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น935 ราย

– พายุโซนร้อนรูท เกิดขึ้น ณ วันที่ 27 -29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ที่อำเภอสัตหีบ ในจังหวัด ชลบุรี พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น138 ราย

– อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ.2526เกิดขึ้น ณ วันที่ 20 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 มากถึง 42 จังหวัดด้วยกัน โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 49 ราย

– พายุไต้ฝุ่นเกย์ พ.ศ.2532 เกิดขึ้น ณ วันที่ 4-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 โดยเกิดขึ้น 4 จังหวัดด้วยกัน และพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นถึง 602 ราย

– อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2538 เกิดขึ้น ณ วันที่ 6 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เกิดขึ้นถึง 68 จังหวัดด้วยกัน พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 260 ราย

-พายุไต้ฝุ่นลินดา เกิดขึ้น ณ วันที่ 30 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยเกิดขึ้น 5 จังหวัดด้วยกัน พบผู้เสียชีวิต 9 ราย

– อุทกภัยพ.ศ. 2543 เกิดขึ้น ณ วันที่ 21 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ที่อำเภอหาดใหญ่ พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 35 ราย

– อุทกภัย และดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ เกิดขึ้น ณ วันที่ 10 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เกิดขึ้นที่จังหวัดเพรชบูรณ์ ในอำเภอ หล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวิเชียรบุรี โดยมีการพบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 131 ราย และมีผู้สูญหายอีก 5 ราย

-อุทกภัยจากพายุจันทู เกิดขึ้น ณ วันที่ 13 – 17 มิถุนายน พ.ศ.2547 โดยเกิดขึ้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิต 2 ราย

– อุทกภัยจากพายุไต้ฝุ่นช้างสาร ที่ได้มีการอ่อนกำลังลงแล้ว และได้พัดผ่านมายังประเทศไทย เกิดขึ้น ณ วันที่ 27 สิงหาคม ถึง 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยที่เกิดขึ้นถึง 47 จังหวัดด้วยกัน โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด นั้นคือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นถึง 314 รายด้วยกัน

– อุทกภัยและเหตุโคลนถล่ม 5 ในเขตภาคเหนือตอนล่างเกิดขึ้น ณ วันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2549 โดยเกิดขึ้น 5 จังหวัดด้วยกัน พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 87 ราย

– แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิมหาสมุทรอินเดีย เกิดขึ้น ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยเกิดขึ้นในจังหวัดทางภาคใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะใน 3 จังหวัด ภูเก็ต พังงา และกระบี่ นับเป็นการเกิดภัยพิบัตรทางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมาย โดยมีการพบผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติกาล มากถึง 5,395 ราย และยังมีผู้ที่สูญหายมากถึง 2,817 ราย

– อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 ในระหว่างช่วงเดือน ตุลาคม และ ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัด นครราชสีมา และ อำเภอหาดใหญ่ พบจำนวนผู้เสียชีวิต 260 รายด้วยกัน

– อุทกภัยและดินโคลนถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 เกิดขึ้น ณ วันที่ 23-31 มีนาคม พ.ศ.2554 โดยเกิดขึ้นภึง 7 จังหวัดด้วยกัน พบจำนวนผู้เสียชีวิต 64 ราย

– อุทกภัยในประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัดด้วยกัน เกิดขึ้น ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึง 16 มกราคม พ.ศ. 2555 พบผู้เสียชีวิตถึง 815 รายด้วยกัน

– อุทกภัยในประเทศไทย 26 จังหวัด เกิดขึ้น ณ วันที่ 28 พฤษภาคม – 20 กันยายน พ.ศ. 2555 พบผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย

– แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว เกิดขึ้น ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ที่จังหวัดเชียงราย พบผู้เสียชีวิต 2 ราย

– พายุโซนร้อนปาบึก เกิดขึ้น ณวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง 8 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยเกิดขึ้นถึง 18 จังหวัดด้วยกัน โดย เหตุการณ์ในครั้งนี้พบผู้เสียชีวิต 8 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือลูกพี่ลูกน้องของผู้เขียนเอง

-พายุเตี้ยนหมู เกิดขึ้น ณ วันที่ 23 กันยายน – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยเกิดขึ้น 31 จังหวัดด้วยกัน พบผู้เสียชีวิตจำนวน 9 ราย

ผู้เขียนต้องขอแสดงความเสียใจกับญาติของผู้เสียชีวิตด้วย เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นเป็นเหตุการณ์ที่เรานั้นไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ แต่หากเรารู้วิธีรับมือ และคอยหมั่นสังเกตการณ์อย่างเสมอ ก็สามารถที่จะป้องกันและเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ได้